ยโสธรดินแดนพระจันทร์เสี้ยวแห่งภาคอีสาน ถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองที่มีความสุขที่สุด ในประเทศไทย แต่ว่ามีนักท่องเที่ยวน้อยนักที่ เข้าไปสัมผัส เลยทำให้เราไม่ค่อยได้ยินเรื่องราว ของจังหวัดยโสธรมากสักเท่าไหร่ แต่แกรรู้ไหมความจริงแล้วยโสธร เป็นจังหวัดมีสถานที่ท่องเที่ยวเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นผืนนาที่กว้างสุดสายตา เมืองเก่าชิคๆ คาเฟ่ วัดวาอารามที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน รวมถึงเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ที่ถูกจัดอันดับ ให้เป็นที่สุดของประเทศไทย
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อเพราะแค่ 3 วัน 2 คืน ที่เรา ได้ไปสัมผัส เราก็รู้สึกหลงรักในความ ธรรมดาที่ไม่ธรรมดาของจังหวัดนี้ซะแล้ว
ประเทศไทยเข้าสู่ยุคของเกษตรอินทรีย์ ออแกนิค 3.0 ยโสธรเองก็เป็นเมืองเกษตรกรรมที่ปัจจุบันชาวบ้านหันมาทำนากันทั้งเมือง ในวาระ 70 ปีสบู่นกแก้วได้ร่วมจัดกิจกรรม CSR ร่วมลงขัน ชวนกันไปทำนา กับทางจังหวัดยโสธร เพื่อสนับสนุนวิถีเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดยโสธรซึ่งทางเพจจะเที่ยวไปไหนก็ได้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วย ขอบอกเลยว่าไปทำนาครั้งนี้ ไม่น่าเบื่ออย่างที่แกรรรคิดแน่นอน เพราะท่ามกลางอากาศที่ร้อน แต่ผืนนาสีเขี๊ยวเขียวและน้ำใจของชาวบ้าน รวมถึงทุกคนที่ร่วมลงขันชวนกันมาทำนา ช่วยให้บรรยากาศเย็นขึ้นมาทันตา เราจะพาไปรู้จักความสุขที่เงินซื้อไม่ได้ในแบบเมืองบั้งไฟแห่งยโสธรกัน
ออกเดินทางด้วยสายการบินแอร์เอเชีย ตรงสู่จังหวัดอุบลราชธานีถึงเร็วถึงไวในหนึ่งชั่วโมง และนั่งรถต่อไปยังจังหวัดยโสธรบ้านเฮา
เราเดินทางมาถึงที่อำเภอมหาชนะชัยในช่วงสาย มหาชนะชัยเป็นอำเภอเล็กๆที่มีประชากรน้อยนิด แต่ก็มีวิถีชีวิตลุ่มน้ำชีและแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น รอยพระพุทธบาทจำลอง แปลงนาประชารัฐที่ชาวบ้านแปลอักษรภาพด้วยการปลูกข้าวลงบนแปลงนา
ที่นี่ชาวบ้านจะคอยให้ความรู้เรื่องข้าวที่ปลูกทั่วไปในยโสธร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข้าวสายพันธุ์ดี ปลูกด้วยกระบวนการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ไร้สารเคมีตั้งแต่ลงต้นกล้าไปยันขั้นตอนเก็บเกี่ยว ใครที่ซื้อข้าวจากที่นี่รับรองได้ว่าปลอดภัยชัวส์!
อีกหนึ่งความภูมิใจของเมืองยโสธรที่ไปแล้วอยากให้ลองไปแวะชมคือประเพณีแห่มาลัยข้าวตอกของชาวลุ่มน้ำชี ที่จะจัดขึ้นในวันมาฆบูชา แต่เลยช่วงเทศกาลมาแล้วเราเลยได้เข้าไปดูในพิพิธภัณฑ์มาลัยข้าวตอกวัดหอกองแทน
อาจจะมีคนงงๆอยู่ว่าข้าวตอกคืออะไรฟ่ะ?
ข้าวตอกก็คือข้าวเปลือกที่นำมามาคั่วไฟอ่อนๆจนเนื้อด้านในแตกและบานออก กลายเป็นตอกข้าวเม็ดเล็กๆ จากนั้นชาวบ้านจะนำมาร้อยเป็นมาลัยสายยาวขนาดใหญ่ แล้วจัดขบวนแห่ไปถวายเพื่อเป็นพุทธบูชา เพราะถือว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเป็นของสูงที่มนุษย์ขาดไม่ได้
มาถึงเมืองยโสธรทั้งทีก็ต้องออกไปเที่ยวรอบๆเมืองชมบรรยากาศ ชีวิตความเป็นอยู่และสถานที่น่าสนใจในยโสธรกันถูกมะ ทางยโสธรจะมีรถรางประจำเมืองพาเราไปชมสถานที่สำคัญแบบไม่คิดค่าบริการด้วย
โดยรถรางจะมีให้บริการทุกวันศุกร์-วันอาทิตย์ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 20 นาที จะแวะจอด 5 สถานีด้วยกัน คือ สถานีวิมานพญาแถน สถานีวัดมหาธาตุ สถานีบ้านสิงห์ท่า สถานีบุ่งน้อยบุ่งใหญ่ และสถานีวัดศรีธรรมาราม เลือกขึ้นกันได้ 3 เที่ยว คือ
– เที่ยวที่ 1 เวลา 09.30 น. – 10.50 น.
– เที่ยวที่ 2 เวลา 14.00 น. – 15.20 น.
– เที่ยวที่ 3 เวลา 16.00 น. – 17.20 น.
(สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม เทศบาลเมืองยโสธร โทรศัพท์สายด่วน 1132)
ไปกันที่สถานีแรกเลยดีกว่า สถานีวัดมหาธาตุวัดคู่บ้านคู่เมืองยโสธรมาตั้งแต่แรกสร้างเมือง มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญในวัดหลายสิ่งคือ พระพุทธบุษยรัตน์ พระธาตุอานนท์และหอไตรโบราณกลางน้ำ
พระธาตุพระอานนท์พระธาตุเก่าแก่ที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน มีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม ส่วนยอดจะคล้ายกับพระธาตุพนม ภายในบรรจุอัฐิของพระอานนท์ ซึ่งมีที่เดียวในประเทศไทย และสองที่ในโลกคือไทยและอินเดีย
หอไตรโบราณกลางน้ำ สร้างขึ้นโดยพระครูหลักคำเจ้าอาวาส ตัวอาคารทั้งหลังสร้างด้วยไม้ ตั้งอยู่กลางสระน้ำสีเขียวมรกตและวิธีขัดไม้แบบดั้งเดิมในการก่อสร้าง มีการตกแต่งซุ้มประตูและบานประตูไม้สลักด้วยการลงรักปิดทอง ปัจจุบันเป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลานและพระไตรปิฏก
พระพุทธบุษยรัตน์ หรือที่เรียกว่าพระแก้วหยดน้ำค้าง เป็นอีกหนึ่งอันซีนของยโสธรเพราะว่าเป็นพระประจำเมืององค์ที่เล็กที่สุดในไทย มีขนาดหน้าตักกว้าง เพียงแค่ 1.9 นิ้ว เท่านั้นเอง เป็นพระพุทธเนื้อแก้วใสรูปปางสมาธิที่ได้รับศิลปะการสร้างมาจากเชียง
ใครจะคิดว่าประเทศไทยจะมีพิพิธภัณฑ์คางคก เป็นไปแล้วค่าาาาแถมยังเป็นอาคารรูปทรงคางคกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำลำทวน เดิมจังหวัดยโสธรเค้ามีตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับพญาแถน จึงก่อสร้างที่นี่ขึ้นโดยสอดแทรกตำนานเรื่องเล่าพื้นเมืองของชาวอีสานและความรู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับประเพณีบุญบั้งไฟอันโด่งดัง และคางคกสายพันธุ์ต่างๆในประเทศไทยเอาไว้
มุมยอดฮิตที่นักท่องเที่ยวชอบมาถ่ายรูปกัน
ลืมภาพนิทรรศการแบบเดิมได้เลยจ้ะ เพราะทีนี่เค้าจัดนิทรรศการด้านในได้น่าสนใจ ให้ความรู้ ใช้กราฟฟิคไม่น่าเบื่อแถมเข้าใจง่าย
วิวอ่างเก็บน้ำลำทวนจากด้านบนอาคาร นอกจากนี้ทีนี่ยังมีของซื้อของฝากให้ติดไม้ติดมือกลับไปด้วย ให้ทายว่าของดีของฝากยอดฮิตของยโสธรคืออะไร?
บั้งไฟ ? มันใช่หร๊ออออออใครจะซื้อบั้งไฟกลับไปจุดที่กรุงเทพ ฮ่า ของดีของแท้เมืองคนยโสต้องปลาส้มของขึ้นชื่อ ชาวบ้านจะนำปลาที่ตกได้มาแปรรูป มีทั้งส้มสวายแบบเนื้อชิ้น ส้มปลานวลจันทร์ ส้มสวายแบบท้อง ส้มปลาโจก กลับไปทอดกินได้เลย
ถึงยโสธรจะเป็นจังหวัดเล็กๆ แต่เวลาแค่หนึ่งวัน ขอบอกเลยว่าไม่มีทางเก็บที่เที่ยวได้หมดแน่ๆ เราเลยต้องตื่นแต่เช้าาาา ออกเดินทางไปต่อไปที่บ้านคำครตา ตำบลดงมะไฟ อำเภอทรายมูล วันนี้เราจะมาออกกองฟังบรรยาย “ยโสธร เมืองเกษตรอินทรีย์ เมืองแห่งวิถีอีสาน” โดยผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรก่อนจะลงมือหว่านกล้าทำนากันจริงๆ
ท่านผู้ว่า ท่านนักธุรกิจต่างๆ ก็มาร่วมลงนามทำสัญญากันว่าเดี๋ยวปลายปีจะกลับมาเก็บข้าวที่ปลูกไว้นะ
ทีนี้ก็ถึงเวลาลงมือทำนาจริงๆแล้ว ตื่นเต้นมากค่าไม่เคยทำ 5555555555 ชาวบ้านที่นี่ใจดีมากยิ้มแย้มแจ่มใสให้เราคอยเป็นลูกมือ สอนวิธีปลูกเริ่มด้วยการแบ่งต้นข้าวให้พอดีๆ จับกดลงไปในดินพอประมาณแล้วใช้หัวแม่โป้งกดลงไป ไม่นานต้นกล้าก็เขียวเต็มนา
มันก็จะยากหน่อยๆ ไม่ใช่ทำนายากนะ เดินยาก! โดนดินดูดไปอี๊ก แต่ก่อนจะใช้รองเท้าบูทคู่ใหญ่ๆเดินลงไปเพื่อป้องกันเท้า แต่เดี๋ยวนี้จะมีถุงเท้าหนาๆสำหรับสวมช่วยให้เดินสะดวกขึ้น แต่กับนี่ทำไมมันเหมือนไม่ช่วยอะไรเล้ยยย
ต้องขอขอบคุณ สบู่นกแก้วจริงๆที่จัดกิจกรรมในวาระ 70 ปีดีๆแบบนี้ขึ้นมา นอกจากกจะได้มาเรียนรู้วิถีชุมชนแล้วยังได้ลงมือทำกิจกรรมที่ไม่เคยทำมาก่อน สเน่ห์ของการทำนานอกจากผลผลิตแล้วการร่วมมือร่วมใจเนี่ยแหละที่ทำให้การทำนาของชาวบ้านยังมีมาจนถึงตอนนี้
ป้าๆนี่แดนซ์ไปหว่านไปรอบนา จนอยากจะวิ่งไปเต้นด้วย ฮ่าาา
แอบขอเซลฟี่กับชาวบ้านมาทุกคนน่ารักมาก มีป้าท่านนึงจับมือเราแล้วบอกหนูๆไปดูควายป้ารึยัง มาๆป้าพาไป แล้วป้าก็ลากไปหาควายสองตัวที่จอดไว้ข้างต้นไม้ น้องก็ยืนให้จับนิ่งเลย
พักกลางวันชาวบ้านก็ชวนให้รอทานอาหารฝีมือป้าๆ อาหารอีสานที่แท้ทรูเราเห็นชาวบ้านเข้าครัวช่วยกันทำ เสร็จแล้วก็ล้อมวงทานด้วยกันพร้อมหน้า ผักผลไม้ ปลาสดใหม่จากสวนนี่ยังไม่ทันกินก็อิ่มใจแล้ว
กลับมาอาบน้ำให้ชื่นใจด้วยสบู่สมุนไพร แพรอท เฮอร์เบิล ของใหม่ที่เห่อมากขนาดที่พกมาถึงยโสธร!
ก่อนจะไปลุยเที่ยวต่อ
อันซีนท่ีเป็นท่ีกล่าวขานของยโสธรอีกอย่างนึงคือโบสถ์คริสบ้านซ่งแย้ โบสถ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
นอกจากชาวยโสธรจะนับถือศาสนาพุทธแล้วยังมีอีกหลากเชื้อชาติศาสนา อยู่ร่วมกันอย่างแฮปปี้ อย่างโบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ อยู่ที่อำเภอไทยเจริญเป็นโบสถ์ไม้โรมันคาทอลิกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและมีอายุปาเข้าไปเกือบ 100 ปี สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาและความร่วมมือร่วมใจของคริสต์ชน ในทุกๆปีจะมีการจัดพิธีสมรสหมู่แบบคาทอลิกให้บ่าวสาวทุกวันวาเลนไทน์ด้วย
ยโสธรมีเขตการปกครองหลายอำเภอ ซึ่งแต่ละอำเภอจะมีจุดเด่นของตัวเองแตกต่างกันออกไป อำเภอเลิงนกทาก็เช่นกัน เลิงนกทาเป็นถิ่นที่มีชาวภูไทอาศัยอยู่อย่างคับคั่ง ชาวภูไทจะมีขนบธรรมเนียมและภาษาพูดแตกต่างไปจากภาษาอื่นๆ ที่เห็นได้ชัดคือการแต่งกายเหมือนกันทั้งอำเภอด้วยเสื้อผ้าที่มีเอกลักษณ์และย้อมสีครามเข้ม
ชาวภูไทที่ออกมาต้อนรับอย่างดี คล้องพวงมาลัยให้เป็นแขกวีไอพีสุดๆ
ทุกวันเสาร์แรกของเดือน ( ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง ) หมู่บ้านชาวภูไทจะมีตลาดที่เรียกว่า ตลาดต้องชม ตลาดเก่าวิถีถิ่นภูไทห้องแซง พ.ศ. 2513 เป็นถนนคนเดินและจาหน่ายสินค้าพื้นเมือง ที่ตลอดเส้นทางจะมี วิถีชีวิต วัฒนธรรมท้องถิ่นของคนในพื้นที่ เช่นการแสดงโปงลาง เล่นดนตรี ทอผ้า กันไปตลอดเส้นทางเดิน ครึกครื้นมาก ใครที่เป็นสายเที่ยววิถีชุมชน ต้องประทับใจ เพราะทุกคนในหมู่บ้านทั้งคนเก่าคนแก่คนรุ่นใหม่ ใช้ชีวิตกลมกลืนกันมากและยังอนุรักษ์วัฒนธรรมไว้ได้ดี
คุณยายที่เรียกเราเข้าไปดูการทอผ้า สอนตั้งแต่การมัดหมี่ไปจนถึงขั้นตอนทอผ้า ถ้ามีเวลานั่งทั้งวันกลับ บ้านมาก็ทอผ้าขายได้เลยฮ่า
อันนี้ชอบมาก ขนมฝักบัวใบเตย เป็นขนมไทยโบราณชาวบ้านให้ลองชิม หน้าตาจะคล้ายใบบัวแต่มีรส หวานกรอบอร่อย ตอนแรกเข้าใจว่าเอาบัวมาชุบแป้งทอด 55555555
อีกหนึ่งวันที่แนะนาให้ตื่นแต่เช้าเพื่อมาให้ทันตักบาตรที่ชุมชนเก่าบ้านสิงห์ท่า ย่านการค้าที่เจริญรุ่งเรืองใน สมัยก่อน
แต่เดิมฝรั่งเศสเข้ามามีอิทธิพลท่ีคุ้มบ้านสิงห์ท่า ทาให้อาคารบ้านเรือนที่นี่มีรูปแบบศิลปกรรมแบบจีนผสม ยุโรป หรือที่เรียกว่าชิโนโปรตุกีสที่หลายคนเคยเจอท่ีภูเก็ต ปัจจุบันก็ยังคงหลงเหลืออาคารบ้านเรือน ตึกแถวโบราณรูปทรงแปลกตาให้เดินชมทั้งสองข้างทางและถ่ายรูปชิคๆกันได้ ทั้งแบบที่สมบูรณ์และรกร้าง ก็เป็นอีกหนึ่งสเน่ห์ที่อยากจะลุกจากเตียงมาที่นี่
บรรยากาศเก่าๆหลายๆบ้านที่ยังมีคนอาศัยอยู่
ความเลื่อมใสของพ่อค้าชาวจีนที่เข้ามาอยู่ยังบริเวณชมชนแห่งนี้ ได้ร่วมกันสร้างมูลนิธีรวมสามัคคียโสธร และบูรณะศาลหลักเมืองขึ้นใหม่ เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานของ 3 วัฒนธรรม คือตัวอาคารเป็น สถาปัตยกรรมจีน มีภาพเขียนฝาผนังหินและมีรูปปั้นมังกรขนาดใหญ่ 2 ตัวอยู่ด้านหน้า แต่มีช่อฟ้า ใบระกา แบบสถาปัตยกรรมไทย และยอดอาคารมีพระธาตุแบบสถาปัตยกรรมลาวประดิษฐานอยู่ ที่พิเศษอีกอย่าง หน่ึงคือ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองยโสธรมีเสาหลักเมืองถึง 3 เสา
ทุกคนคงเคยได้ยินตำนานก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ที่อยู่ในหนังสือเรียนสมัยประถม-มัธยม ก่อนกลับเราจะพาไปดูพระธาตุที่เป็นอนุเสาวรีย์แห่ความเศร้าโศกนี้ที่ตำบลตาดทอง
นอกจากตำนานในบทเรียนที่ก่อให้เกิดพระธาตุนี้ขึ้นเพื่อเป็นการไถ่บาปแล้ว พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่อ อิฐถือปูน ต่างจากเจดีย์ทั่วไปเพราะมีลักษณะเป็นก่องข้าวที่ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก ทุกเดือนห้าจะ นิยมสรงน้าและปิดทองกันเพราะกลัวฝนจะแล้ง
ไปเยี่ยมชมพระธาตุแล้วใครที่เชื่อเรื่องดวง ต้องเจอกับน้องสุรินทร์ธาน้องหนูที่ดูดวงลายมือเก่งมากจนคิว ยาวเหยียด แนะนาดูพอเป็นพิธีพอนะ 55555 อย่างงมงายเด้อ
Rider one Motorcycle café shop
ยโสธรเองก็มีร้านกาแฟแนวๆเปิดให้บริการอยู่เหมือนกัน ไรเดอร์วันเป็นร้านกาแฟที่เอาใจสายซิ่ง ตรงข้ามกับ GLOBAL ยโสธร ขับรถมาเหนื่อยๆแวะพักจิบกาแฟให้ชื่นใจสักแก้วสองแก้ว แล้วค่อยออกเดินทางต่อ
ถ้าขับรถผ่านจะเห็นตึกสีส้มจี๊ดจ๊าดตัดกับสีดำมาแต่ไกลก็เปิดประตูเข้าไปได้เลย
ด้านในจะตกแต่งธีม Racing แอบเก๋ๆ ด้วยถนนที่ตัดผ่านในร้านและรถมอเตอร์ไซค์เท่ๆ ที่จอดไว้ภายในร้านให้ถ่ายรูปเล่น มีมุมเอาใจคนรักรถ จะมีหมวกกันน็อค ถุงมือ เสื้อหนังและอุปกรณ์แต่งรถมอเตอร์ไซค์ให้เลือกซื้อ
มาร้านกาแฟต้องขอพูดถึงกาแฟหน่อย คนที่มาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ากาแฟที่นี่ข้นและกลมกล่อมกำลังดีขนาดสั่งชาเขียวยังได้ชาเขียวแบบเข้ม ถูกใจมาก นอกจากแวะทานกาแฟชิลๆยังมีขนมหวานให้สั่งรองท้องด้วย เอาเป็นว่าใครที่มองหาร้านกาแฟเท่ๆ เปิดแมพแล้วตามมาเช็คอินที้ร้านได้เล้ยย
เราเดินทางกลับมาที่จังหวัดอุบลราชธานีเพื่อขึ้นเครื่องแอร์เอเชียกลับบ้าน จะผ่านขัวน้อยบ้านชีทวนอยู่ใน ตาบลชีทวน จังหวัดอุบลราชธานี สถานที่ท่องเที่ยวที่แต่เดิมเป็นเส้นทางสัญจรของพระไปบิณฑบาตรใน ชุมชน ต้องลัดเลาะผ่านทุ่งนา ทาให้หน้าฝนเดินทางค่อนข้างลาบากจึงสร้างเป็นสะพานขึ้นมา
วิวสองข้างทางเป็นทุ่งนากว้างเขียวสุดตา เดินตรงไปจะเป็นวัดที่พระท่านเดินออกมาบิณฑบาตร
สามวันสองคืนที่ยโสธรจังหวัดเล็กๆทางภาคอีสาน ไม่สโลไลฟ์แต่ครึกครื้นมาก ทาให้เราเชื่อได้ว่าความสุข แบบที่เงินซื้อไม่ได้เป็นยังไง ยโสธรอุดมไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวสวยๆ แหล่งผลิตข้าวงามๆ ชาวบ้านที่รู้จัก กันแทบทุกบ้าน อาหารอร่อยๆที่ไม่ต้องเสียเงินซื้อเพราะปลูกเอง เลี้ยงเอง เก็บเอง แต่ละบ้านช่วยกันทา มื้อ นั้นก็เป็นมื้อที่อรอ่ ยและมีความสุขมากๆ
ยโสธรเลยดูเป็น จังหวัดเงียบๆที่ดูเหมือนไม่มีคนเที่ยว เพราะไม่หวือหวา ชาวบ้านเองก็มีความสุขกับสิ่งที่ใน จังหวัดมี แนะนำเลยสาหรับคนที่ชอบวิถีโลคอล ชอบคุยกับคนในพื้นที่ เลี้ยงหมูดูปลา คุยกับควาย 55555 ยโสธรเป็นจังหวัดที่ตอบโจทย์มากๆ ต้องขอบคุณ 70 ปี สบู่นกแก้วจริงๆท่ีให้โอกาสเราไปสัมผัสวิถีไทยท่ีเก๋ไก๋ ได้ใจไม่แพ้สบู่นกแก้วแบบนี้